มีนาคม 12, 2022

Calibration-Bangpakong.Com

สอบเทียบเครื่องมือช่าง บางปะกง

ถังพ่นยา รูปแบบการขับของเหลว วิธีการขับของของน้ำ

1 min read
ถังพ่นยา 

ถังพ่นยา  เครื่องมือที่ใช้ร่วมกับสารพ่นยาต่าง ๆ ปั๊มพ่นยาเป็นอุปกรณ์ในรูปแบบเครื่องจักรกล ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มแรงดันของเหลว เพื่อฉีดพ่นของเหลวจากถังเก็บ ผ่านระบบประปาและออกไปยังหัวฉีดพ่น โดยหัวฉีดจะทำการออกแบบเพื่อให้มีลักษณะเป็นละอองฝอยเครื่องพ่นยา หรือเครื่องพ่นสาร เป็นเครื่องมือทางการเกษตรที่ใช้สำหรับการพ่นสาร ยาฆ่าแมลง หรือปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยทั่วไปเครื่องพ่นยาประกอบด้วย ตัวเครื่องพ่นยา สายพ่นยา ก้านพร้อมหัวฉีดพ่นยา ด้ามจับมีลักษณะเป็นหัวฉีดพ่น เครื่องพ่นยาแบ่งได้หลายรูปแบบตามการใช้งาน เครื่องพ่นยามือโยก(Accumulation type) เครื่องพ่นยาแบตเตอรี่ (Battery Type)  เครื่องพ่นยาแบบใช้เครื่องยนต์ (Engine Type) และเครื่องพ่นยาไฟฟ้า (Electric Type)

วิธีการเลือกซื้อเครื่องพ่นยาสามารถเลือกซื้อได้โดยคำนึงจากเหตุผลดังนี้

  • รูปแบบการขับของเหลว วิธีการขับของของน้ำ
  • ประเภทแหล่งพลังงาน วิธีที่ทำให้เครื่องจักรกลเดินเครื่อง
  • อัตราการไหลของของไหล ความต้องการปริมาณน้ำที่พ่นออกมา
  • วัสดุตัวปั๊ม วัสดุที่รองรับการกัดกร่อนของของเหลว
  • วัสดุ ปะเก็น-ซีลโอริงของตัวปั๊ม

เครื่องพ่นยาแบ่งได้หลายรูปแบบตามการใช้งาน มีกี่รูปแบบ

เครื่องพ่นยามือโยก (Accumulation type)

เป็นเครื่องมือที่คนไทยนิยมใช้มากสุดในปัจจุบัน ลักษณะถังขนาดใหญ่สำหรับเก็บเก็บยา หรือปุ๋ยหมักชีวภาพ ขนาดถังมีให้เลือกตั้งแต่ 1ลิตร ขึ้นไป ถังเก็บสารเคมีทำจากพลาสติกที่ทนทาน ป้องกันสารเคมีได้ และมีขันโยกสำหรับโยกให้เกิดแรงดันอากาศภายในถัง และพ่นออกมาที่หัวฉีดพ่นยา เครื่องพ่นยามือโยก มีหลายแบบและหลายขนาดให้เลือกตามความเหมาะสม

การทำงานเบื้องต้นของเครื่องพ่นยา เป็นระบบที่ใช้แรงดันในการพ่น เช่น เครื่องพ่นยามือโยก คือเครื่องที่ใช้การโยกสร้างรงดันภายในถังให้เกิดแรงดันและดันปุ๋ยหรือยาออก ทางหัวฉีด แรงดันที่เกิดขึ้นมาก-น้อยขึ้นอยู่กับแหล่งพลังงานที่ได้มา โยกมือ มีข้อจำกัดในการโยกที่สร้างแรงดัน เครื่องพ่นยาแบตเตอรี่ จะได้แรงดันที่มากกว่าการโยกด้วยมือเลือกขนาดถัง ให้เหมาะกับงานทั้งนี้ การเลือกขนาดถังขึ้นอยู่กับความต้องการและความเหมาะสมของผู้ใช้งาน

  • เครื่องพ่นยา 5 ลิตร เหมาะกับการดูแลสวน ขนาดเล็ก-กลาง งานฉีดน้ำ รดน้ำต้นไม้และพืชผักได้
  • เครื่องพ่นยา 10 ลิตร เหมาะสำหรับการฉีดพ่นยา พ่นปุ๋ย พ่นน้ำให้กับพืชผลทางการเกษตร
  • เครื่องพ่นยา 12 ลิตร เป็นขนาดที่ผู้หญิงสามารถใช้ได้ สามารถใช้งานได้อย่างเอนกประสงค์
  • เครื่องพ่นยา 16 ลิตร เหมาะสำหรับฉีดพ่นปุ๋ย สารเคมี และน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือพ่นต่างๆ
  • เครื่องพ่นยา 18 ลิตร เหมาะสำหรับใช้ในการพ่นปุ๋ย  สารฆ่าแมลง ปลวก มด ในบริเวณบ้านหรือสวนขนาดเล็ก
  • เครื่องพ่นยา 20 ลิตร เหมาะฉีดพ่นยาฆ่าแมลง พ่นปุ๋ย สารอาหาร หรือพ่นน้ำสะอาด

เครื่องพ่นยาแบตเตอรี่ (Battery Type)

เป็นเครื่องที่ใช้ แบตเตอรี่หรือแบตเตอรี่ที่ได้จากการชาร์จไฟ เป็นตัวขับเคลื่อนการทำงาน ตัวเครื่องที่น้ำหนักเบา ไม่ต้องใช้มือโยกหรือน้ำมัน สามารถปรับแรงดันน้ำ ใช้งานง่าย เปิด-ปิดสวิตซ์สามารถใช้งานได้เลย เหมาะกับงานสวน หรีอไร่ผลไม้ ลักษณะของเครื่องพ่นยาแบตเตอรี่มีถังเก็บยา หรือปุ๋ย บริเวณด้านหลังของผู้ใช้งาน สามารถใช้งานได้ต่อเนื่อง และขนาดถังมีให้เลือกหลายขนาดตามความเหมาะสม ตั้งแต่ 1 ลิตร ขึ้นไป 

เครื่องพ่นยาแบตเตอรี่ ที่เป็นเครื่องพ่นยาที่มอเตอร์ปั๊มคู่ ช่วยเพิ่มความเร็วของการปั๊ม ทั้งนี้ยังมีเครื่องที่สามารถใช้งานทั้งแบตเตอรี่และใช้มือโยกได้ เรียกว่า เครื่องพ่นยา 2 ระบบ เช่นเครื่องพ่นยา แบตเตอรี่ 2in1 ZAPP ZP-HS16M เป็นเครื่องพ่นยา 2 ระบบขนาดถัง 16 ลิตร แรงดันน้ำ 0.15-0.4Mpa สามารถปรับแรงดันได้ง่ายเพียงแค่หมุนปรับที่มือได้เลย ช่วยให้ทำงานได้อย่างรวดเร็ว พ่นได้ในระยะที่ไกล และยังสร้างแรงดันในการปั๊มได้ถึง 3.6ลิตร/นาที

เครื่องพ่นยาแบบเครื่องยนต์ (Engine Type)

ทำงานด้วยระบบเครื่องยนต์ ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อน (ออโตลูป) มีให้เลือกใช้งาน 3 แบบ เครื่องพ่นยาแบบพกพา เครื่องพ่นยาแบบสะพายหลัง และ เครื่องพ่นยา 3 สูบ เครื่องพ่นยาแบบเครื่องยนต์เมื่อเทียบกับเครื่องพ่นยาชนิดอื่น เครื่องพ่นยาแบบเครื่องยนต์โดดเด่นเรื่อง การฉีดที่ไกลและมีความแรงของการพ่น แต่ก็มีข้อเสียคือราคาที่สูง เหมาะสำหรับเกษตรกร ชาวสวน หรือพื้นที่การเกษตรที่กว้าง

  1. เครื่องพ่นยาแบบพกพา เป็นขนาดที่เหมาะพกพาไปทำงาน ยกหรือเคลื่อนย้ายได้สะดวก ความแรงของน้ำขึ้นอยู่กับหัวพ่นแล้วเครื่องยนต์ที่เลือกใช้งาน โดยหัวพ่นของเครื่องพ่นยาแบบพกพา มีขนาดที่เล็กที่ออกแบบให้สามารถพกพา ทำงานได้สะดวก ส่วนเครื่องยนต์ที่ใช้กับเครื่องพ่นยาแบบพกพา มีให้เลือกแบบเครื่องยนต์เบนซิน 2 จังหวะและ4 จังหวะ ให้เลือกแต่ความเหมาะสมของขนาดหัวพ่น โดยทั่วไปแล้วเครื่องพ่นยาแบบพกพา นิยมใช้เครื่องยนต์ 2 จังหวะ สำหรับใช้ร่วมกัน
  2. เครื่องพ่นยาแบบสะพายหลัง ลักษณะเป็นถังขนาดใหญ่ทำจากพลาสติก แข็งแรง ด้านใต้ถังเป็นเครื่องยนต์ และมาพร้อมกับสายพ่นและด้ามพ่นยา เครื่องพ่นยาแบบสะพายหลัง ละอองที่ออกมามีปริมาณมาก และถังสามารถเก็บสารหรือปุ๋ยได้เยอะ ใช้เครื่องยนต์เบนซินเป็นตัวขับเคลื่อน อัตราการไหลของน้ำสูงและระยะไกล มีขนาดถังให้เลือกตามความเหมาะสมของการใช้งาน  ในปัจจุบัน เครื่องพ่นยา 2 จังหวะ นิยมใช้กับ เครื่องพ่นยาสะพายหลัง เพราะเครื่องยนต์มีน้ำหนักที่เบา มีปัญหาน้อยกว่า และสตาร์ทง่าย ให้อัตราการสูงที่พอดีกับเครื่องพ่นยา
  3. เครื่องพ่นยา 3 สูบ เป็นเครื่องพ่นยาที่เหมาะกับการใช้งานในระยะไกล หรือพื้นที่กว้าง เช่น ไร่ สวนเป็นต้น โดยระบบหัวพ่นมีลูกสูบ 3 ลูกสูบ ช่วยเพิ่มแรงดันในการปั๊มที่สูงและรวดเร็ว 
  4. เครื่องพ่นยา 2 จังหวะ เป็นเครื่องยนต์เบนซิน 2 จังหวะ ระบบทำงานเครื่องยนต์ 2 ช่วงคือ ดูด อัด และระเบิด คาย ใช้ลูกสูบเดียวทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้เร็ว รอบจัดกว่า เครื่องยนต์ 4 จังหวะ  การใช้งานไม่ยุ่งยาก
  5. เครื่องพ่นยา 4 จังหวะ เป็นเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ คือ ดูด อัด ระเบิด คาย จะทำงานภายใต้การหมุนของเครื่องยนต์ 2 รอบ ทำให้การเผาไหม้ดีกว่าเครื่องยนต์ 2 จังหวะ ใช้งานได้ต่อเนื่อง
Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.