มีนาคม 12, 2022

Calibration-Bangpakong.Com

สอบเทียบเครื่องมือช่าง บางปะกง

รู้ก่อนใช้ ธูป เชื่อม หรือลวดเชื่อมก่อนการใช้งานว่ามีกี่ชนิด

1 min read
ธูป เชื่อม

ธูป เชื่อม หรือลวดเชื่อม เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับช่างเชื่อม หากขาดอุปกรณ์นี้ก็ไม่สามารถเชื่อมงานให้ออกมาดีได้ ซึ่งลวดเชื่อมนี้ใช้ทำงานในด้านงานเชื่อมโลหะ ทำให้ชิ้นงานที่เป็นโลหะ 2 ชิ้น หลอมเหลวเข้ากันเป็นชิ้นเดียวกัน น้ำโลหะเหลวที่เกิดจากลวดเชื่อม ทำให้ชิ้นงานติดกันมีความแข็งแรงสามารถรับแรงและคงรูปอยู่ได้ ช่างเชื่อมและคนใช้งานลวดเชื่อมทั่วไปคงคุ้นเคยกันดี ว่าแต่ลวดเชื่อมมีกี่ชนิดกัน พร้อมแล้วเราไปดูชนิดของลวดเชื่อมกันเลย capitallaboratory

ลวดเชื่อมมีกี่ชนิด

ลวดเชื่อมมีมากมายหลายชนิด แต่ชนิดลวดเชื่อมที่ช่างนิยมใช้กันมีดังนี้

1. ลวดเชื่อมแบบก้านธูปหรือลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลักซ์ (Covered Welding Electrode) 

เป็นลวดเชื่อมไฟฟ้าที่บรรดาช่างเชื่อมนิยมมาก มีลักษณะคล้ายกับธูปหุ้มด้วยฟลักซ์ ซึ่งด้านในแกนกลางเป็นโลหะ เช่น ลวดเชื่อมเหล็ก, ลวดเชื่อมสแตนเลส, ลวดเชื่อมอลูมิเนียมไฟฟ้า เป็นต้น มีหลายขนาดตั้งแต่ ขนาด  2.0 2.6 3.2 4.0 5.0 มิลลิเมตร ในระหว่างการเชื่อม ฟลักซ์ที่หุ้มลวดเชื่อมจะกลายเป็นแก๊สเพื่อป้องกันไม่ให้แนวเชื่อมเกิดปฎิกิริยา oxidize กับอากาศ ลวดเชื่อมนี้มีข้อดีคือเชื่อมง่าย อุปกรณ์ไม่แพง และไม่ต้องใช้แก๊ส

2. ลวดเชื่อมแบบไส้ฟลักซ์ (Flux Cored Wire) 

เป็นลวดที่ใช้เชื่อมโลหะที่มีแกนกลางกลวง ภายในประกอบด้วยสารพอก ลวดชนิดนี้มีราคาที่สูง แต่ประสิทธิภาพในการใช้งานสูง สามารถทำให้เนื้องานออกมาได้สวยงามเป็นพิเศษ

3. ลวดเชื่อมอาร์กอนหรือทิก (TIG Welding Rod) 

เป็นลวดเชื่อมเปลือยมีลักษณะคล้ายกับลวดเชื่อมมิก แต่จะเป็นเส้นตรงมีความยาวเส้นละ 1 เมตร ซึ่งจะเน้นในการใช้งานในกลุ่มที่ต้องการความละเอียดสูง มีทั้งที่เป็นเหล็ก อลูมิเนียม สแตนเลส ทองเหลืองและกลุ่มอื่นๆ

4. ลวดเชื่อมแบบมิกหรือลวดเชื่อม Co2 (MIG Welding Wire) 

เป็นลวดเชื่อมแบบโลหะเปลือยไม่มีสารห่อหุ้มภายนอกมีลักษณะเป็นแบบม้วนลวดชนิดนี้สามารถเชื่อมงานได้รวดเร็วและต้องใช้แก๊สCo2(แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์) ในการปกคลุมแนวเชื่อม ราคาไม่แพง เหมาะกับงานที่ต้องการลงทุนต่ำ ใช้ในงานอุตสาหกรรมทั่วไป

5. ลวดเชื่อมเซาะร่องหรือลวดเชื่อมเกาจ์ (Gouging Electrode)

เป็นลวดเชื่อมแบบพิเศษที่มีไว้ใช้ในการกำจัดเนื้อโลหะที่เชื่อมไม่ได้คุณภาพให้ออกไปจากชิ้นงาน มีลักษณะกลมและสามารถใช้ทำความสะอาดแนวเชื่อมสำหรับเตรียมชิ้นงานก่อนเชื่อมโดยใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้า เหมาะสำหรับใช้ในการเซาะร่อง เจาะรู หรือใช้ในงานตัด

หลักการเลือกลวดเชื่อมไฟฟ้า

  • ความแข็งแรงของชิ้นงาน
  • ส่วนผสมของโลหะชิ้นงาน จะต้องเลือกลวดเชื่อมที่มีส่วนผสมเหมือนกันกับโลหะชิ้นงาน
  • ชนิดของกระแสไฟที่ใช้ ควรเลือกให้เหมาะสมกับกระแสไฟเชื่อม เพราะลวดเชื่อมบางชนิดจะเชื่อมได้ผลดีกับไฟกระแสตรงเท่านั้น หรือบางชนิดจะเชื่อมได้ผลดีกับไฟกระแสสลับเท่านั้น
  • ความหนาและรูปร่างของชิ้นงาน ควรเลือกใช้ลวดเชื่อมที่มีความเหนียวสูงกับงานที่มีความหนาและซับซ้อนเพื่อหลีกเลี่ยงการแตกร้าว

การเลือกลวดเชื่อมต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง?

  • เชื่อมวัสดุอะไร
  • สถานที่เชื่อม indoor/ outdoor
  • ท่าเชื่อม
  • คุณสมบัติของรอยเชื่อมที่ต้องการ

อันตรายที่แฝงกับงานเชื่อมและข้อปฏิบัติในการเชื่อม เป็นอย่างไร?

การเชื่อมโลหะ เป็นอุตสาหกรรมที่จำเป็นสำหรับการก่อสร้างอาคารร้านค้าต่าง ๆ ตลอดจนเครื่องจักรกลต่าง ๆ ต้องมีการเชื่อมยึดเพื่อให้เกิดความมั่นคง การเชื่อมโลหะก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมมากมาย ตั้งแต่รังสีจากการเชื่อมด้วยไฟฟ้า หรือแก๊ส คือรังสีอัลตราไวโอเลต เมื่อผู้เชื่อมได้รับรังสีนาน ๆ อาจจะก่อให้เกิดมะเร็งที่ผิวหนังได้ หรือทำให้ผิวหนังตกกระแก่ก่อนวัย ผิวหนังเหี่ยว แสงที่เกิดจากการเชื่อมเป็นแสงที่มีความเข้มข้นมากถ้ามองด้วยตาเปล่า สายตาอาจจะเสียหรือบอดได้ นอกจากแสงแล้วอาจจะมีสะเก็ดโลหะที่ร่อนกระเด็นเข้าสู่ตาได้ ซึ่งควันและแสงจากการเชื่อมเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ โดยแบ่งอันตรายที่เกิดขึ้นนี้ออกเป็น 3 ข้อ คือ

  1. อันตรายจากแสงจากการเชื่อม แสงจากการเชื่อม เป็นอันตรายต่อดวงตาและอาจทำให้ผิวหนังไหม้ได้รังสีในห้องเชื่อมที่เป็นอันตรายจะอยู่ในช่วงความถี่ตามองไม่เห็น คือช่องรังสีใต้แดง (infrared) และรังสีเหนือม่วง (ultraviolet) รังสีทั้งสองชนิดนี้ทำให้เกิดอันตรายต่อสายตาและผิวหนังได้อย่างรุนแรง คือ ดวงตาระคายเคืองถึงกับอักเสบและน้ำตาไหล ผิวหนังส่วนที่ได้รับรังสีจะเป็นเหตุให้ผิวไหม้และรู้สึกปวดแสบปวดร้อนเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมงขึ้นไป ยาวนานตามระยะเวลาที่ได้รับรังสีนั้น ๆ ก๊าซบางชนิด เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ จะสามารถกรองและดูดซับรังสีนี้ได้มาก
  2. อันตรายจากควันของการเชื่อมควัน (Fume) เป็นอนุภาคของแข็งที่เกิดขึ้นจากการควบแน่นของสารที่อยู่ในสถานะที่เป็นก๊าซ โดยทั่วไปสารนั้น ๆ จะอยู่ในสถานะของแข็งที่อุณหภูมิห้อง เมื่อได้รับความร้อนจะระเหยและจะควบแน่นทันที ตัวอย่างฟูมที่พบในการทำงาน ได้แก่ ฟูมของตะกั่วออกไซด์ ฟูมของเหล็กออกไซด์ ฯลฯ 
  3. ไฟฟ้าดูด ระบบไฟฟ้าในการเชื่อมชนิดเชื่อมไฟฟ้า จะเริ่มจากแหล่งจ่ายไฟและจบลงที่สายดิน กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านสู่ชิ้นงาน กระแสที่มีประจุตรงกันข้ามจะไหลในทิศทางกลับกัน  กระแสไฟฟ้าจะต้องไหลลงสู่ดินเพื่อให้วงจรสมบูรณ์ และในการไหลลงสู่ดินนี้กระแสไฟฟ้า จะเลือกทางเดินที่สะดวกที่สุดเสมอ กระแสไฟฟ้าที่ใช้จะมีความต่างศักย์ 80 โวลต์ การลัดวงจรของกระแสไฟฟ้าที่มีความต่างศักย์ดังกล่าว อาจไม่ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่ก่อให้เกิดอันตรายอื่น ๆ ได้ เช่น เป็นแหล่งความร้อน ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ ไม่ควรใช้เครื่องเชื่อมที่ใช้ในไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับบนชิ้นงานเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน
Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.