มีนาคม 9, 2022

Calibration-Bangpakong.Com

สอบเทียบเครื่องมือช่าง บางปะกง

เลื่อยมีกี่ชนิด ซึ่งเป็นเครื่องมือพื้นฐานสำหรับงานช่างไม่ว่าจะงานไม้ หรืองานเหล็ก

เลื่อยมีกี่ชนิด

เป็นเครื่องมือพื้นฐานสำหรับงานช่างไม่ว่าจะงานไม้ หรืองานเหล็ก ใช้ตัดหรือซอยชิ้นงานให้ได้ขนาดตามต้องการ มีให้เลือกมากมายหลายชนิด จนบางครั้งเลือกไม่ถูก หากซื้อไปใช้งานผิดประเภทอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายได้ ในทีนี้ขอกล่าวถึงเฉพาะเลื่อยที่นิยมใช้งานกัน เป็นเครื่องมือพื้นฐานอีกอย่างหนึ่งสำหรับงานช่างในบ้าน ประโยชน์หลัก ๆ ก็คือ ใช้ตัดหรือซอยชิ้นงานให้ได้ขนาดตามต้องการ ปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลายชนิดสามารถแบ่งได้ตามวัสดุที่นำมาตัด ดังนั้น เลื่อยมีกี่ชนิด ดังนั้นการเลือกซื้อเลื่อยให้เหมาะสมกับงาน จึงเป็นเรื่องดีที่ไม่ควรมองข้าม

แนะนำชนิดและลักษณะของเลื่อย

ในเรื่องของงานช่างและอุปกรณ์สำหรับตัดวัสดุ อาจจะมีเลื่อยอยู่หลาย ๆ ชนิด ทั้งเลื่อยฟันหนู เลื่อยวงเดือน หรือเลื่อยอีกหลาย ๆ ชนิด แต่ว่าสำหรับในเรื่องของงานช่างขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะกับวัสดุอุปกรณ์งานช่าง เครื่องมือช่างประเภทเลื่อยที่หลาย ๆ คน ควรที่จะรู้จักก็คือเลื่อยลันดา เพราะเราสามารถหาดูได้จากไซด์งานก่อสร้างต่างๆ หรือจะเป็นในบ้านของเรา และแทบทุกๆบ้านจะต้องมีเลื่อยชนิดนี้ไว้สำหรับทำการช่างในขั้นต้นอย่างแน่ นอน

1. เลื่อยเหล็ก

 เลื่อยเหล็กเป็นเลื่อยที่เอาไว้ใช้กับงานเหล็กเป็นหลัก หากเราเอาไปใช้เลื่อยไม้ จะเลื่อยได้ช้ามาก เพราะฟันเลื่อยจะไม่ลึก ละเอียด ตัวโครงของเลื่อยเหล็กจะทำมากจากเหล็ก แต่มีน้ำหนักเบา มีแบบความยาวที่มาตรฐาน และแบบสามารถปรับความยาวได้ตามขนาดของใบเลื่อยได้ เลื่อยเหล็กสามารถเปลี่ยนใบเลื่อยได้ เวลาใส่ต้องหันปลายฟันเลื่อยชี้ออกนอกตัวผู้เลื่อยเสมอ

2. เลื่อยพับขนาดกระเป๋า

เลื่อยพับขนาดกระเป๋าจัดเป็นเลื่อยอเนกประสงค์ที่มีฟันแข็งเป็นพิเศษ สามารถตัดได้ทั้งไม้ พลาสติก โลหะ หรือวัสดุอื่น ๆ ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก คุณสมบัติพิเศษที่สำคัญของเลื่อยพับขนาดกระเป๋าคือ สามารถพับเก็บไว้ได้ ทำให้สามารถพกพาได้สะดวก และยังพกพาไว้ใช้ในยามฉุกเฉินได้อีกด้วย

3. เลื่อยหางหนู

เลื่อยหางหนูแบ่งได้ตามขนาดของใบเลื่อยอีกหลากหลายขนาด สามารถใช้ได้กับงานตัดโค้งทั้งภายใน และภายนอกชิ้นงาน หรือใช้สำหรับตัดเจาะผนังยิปซั่มก็ยังได้

4. เลื่อยหางหมู

เลื่อยหางหมูมีใบเลื่อยที่ลักษณะใหญ่ที่โค้น และที่ปลายเรียวแหลม เลื่อยหางหมูมีความกว้างที่หลากหลายขนาด บางรุ่นสามารถถอดเปลี่ยนใบเลื่อยได้ เหมาะสำหรับงานตัดโค้งทั้งภายใน และภายนอกชิ้นงาน  

5. เลื่อยฉลุ

เลื่อยฉลุใช้กับงานไม้ เหมาะสำหรับงานตัดโค้ง ทำลวดลาย ตัวกรอบเขงอเลื่อยฉลุทำด้วยโลหะ ใบเลื่อยค่อนข้างเล็กมาก มีความอ่อนตัว สามารถปรับหมุนได้รอบทิศทาง เลื่อยฉลุมี 2 ชนิดคือ ชนิดคอลึก ใช้ตัดเข้าไปในชิ้นงานได้มากกว่า เหมาะสำหรับไม้ที่ไม่หนามากนัก มีฟันที่ละเอียด และชนิดคอตื่น เหมาะสำหรับงานฉลุไม้ที่ชิ้นไม่ใหญ่นัก มีฟันค่อนข้างละเอียด

6. เลื่อยโครงเหล็กหรือเลื่อยคันศร 

เหมาะสำหรับการใช้งานหนัก เช่น การตัดท่อนไม้ขนาดต่าง ๆ หรือใช้ตัดต้นไม้ เลื่อยโครงเหล็กตัวโครงเป็นเหล็กกลวงน้ำหนักเบา ใบเลื่อยถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อให้ใบเลื่อยสามารถตัดได้ทั้ง 2 ทาง

7. เลื่อยตัดมุมหรือเลื่อยองศา

ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ตัวใบ และแท่นเลื่อย ลักษณะของใบเลื่อยจะเหมือนเลื่อยบังตอ ส่วนแท่นเลื่อยจะประกอบไปด้วย แป้นบอกองศา โครงจับใบเลื่อย ช่องบังคับใบ เลื่อย และแท่นรองรับใช้กับงานเข้ามุมต่อกันให้สนิท เหมาะกับงานตัดคิ้วบัว หรือการทำกรอบรูป

8. เลื่อยลันดา

เป็นเครื่องมือช่างพื้นฐานของงานช่างไม้ เลื่อยลันดามีความยาวที่ 14, 26 เลือกใช้ตามขนาดหน้าตัดของไม้ สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 

  • ชนิดฟันตัด มีลักษณะฟันที่ค่อนข้างพี่ ใช้สำหรับตัดขวางเนื้อไม้เพื่อให้เกิดรอยตัดที่เรียบ ไม่เป็นเสี้ยน 
  • ชนิดฟันหยาบ จะมีลักษณะฟันที่หยาบ สามารถตัดได้เร็ว ใช้สำหรับตัดตามแนวยาวของเนื้อไม้ ซึ่งฟันที่ห่างทำให้เกิดหน้าตัดที่หยาบ ความยาวทั่วไปคือ 26 ชนิดฟันอเนกประสงค์ จะมีฟันถี่พอสมควร ความยาว 26 ใช้งานได้สะดวกทั้งการตัดขวางและการตัดตามแนวยาว

9. เลื่อยบังตอหรือเลื่อยรอ

สำหรับงานตัดหัวไม้เพื่อทำเดือยต่อต่าง ๆ ด้านสันของใบเลื่อยมีครอบเหล็กแข็ง กันใบเลื่อยบิดตัวขณะเลื่อย ทำให้ได้รอยตัดที่มีแนวเที่ยงตรง ใบเลื่อยยาว 8, 14 นิ้ว

10. เลื่อยตัดไม้อัด 

ใช้สำหรับตัดไม้อัดโดยเฉพาะ เนื่องจากมีขนาดฟันที่เล็ก ซึ่งช่วยลดการฉีกขาดของเนื้อไม้ทั้ง 2 ด้าน ที่ปลายจะเป็นสันโค้งพร้อมมีฟันเลื่อยอยู่ด้วย ใช้สำหรับตัดส่วนอื่นที่ไม่ใช้ขอบของไม้อัดโดยไม่ต้องใช้สว่านเจาะรูนำก่อน ใบเลื่อย ยาว 11 นิ้ว

ข้อควรคำนึงในการเลื่อย

  1. จับเลื่อยให้มั่น อย่าให้เลื่อยโคลงไปโคลงมาระหว่างดึงเลื่อยเข้าหาตัว และดันเลื่อยออกไปข้างหน้า
  2. อย่ากดเลื่อยระหว่างทำการเลื่อย และปล่อยให้น้ำหนักเลื่อยถ่ายลงบนคลองเลื่อยเท่านั้น
  3. การตัดหรือผ่าไม้เพื่อนำไปไสแต่ง เป็นการตัดหรือผ่าไม้ที่ต้องการเผื่อความยาวและความกว้างของไม้ไว้ให้ตัด ด้วยเลื่อยฟันหยาบทั้ง 2 ชนิด
  4. เมื่อต้องการจะผ่าปากไม้หรือผ่าเดือยไม้เพื่อนำไปประกอบ ให้ใช้เลื่อยละเอียดทั้งสองชนิดเช่นเดียวกัน
  5. เลื่อยทั้งสองชนิด คือ เลื่อยสำหรับผ่าและเลื่อยสำหรับตัดไม้ ดังกล่าวข้างต้น

Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.